วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย


หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทย ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในการดำเนินชีวิตเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เครื่องใช้ในครัวเรือน หรือแม้แต่ของเล่นของเด็กในยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นของเล่น ก็กลายเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น และการละเล่นพื้นบ้านไทยก็ค่อยๆหายไปจากสังคมไทย เด็กในยุคปัจจุบันก็ไม่รู้จักกับของเล่นหรือการละเล่นพื้นบ้านของไทย
การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
ดังนั้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นถึงความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านไทยจึงอยากจะอนุรักษ์และรณรงค์ให้มีการละเล่นพื้นบ้านไทยเหล่านั้นเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป เนื่องจากการละเล่นต่างๆเหล่านั้นล้วนแต่สื่อถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของไทยควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป และการละเล่นพื้นบ้านไทยยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.             เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทย
2.             เพื่อศึกษาวิธีการเล่นการละเล่นพื้นบ้านแต่ละชนิด
3.             เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้ศึกษาและรู้จักการละเล่นพื้นบ้านของไทย
4.             เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการละเล่นพื้นบ้านไทยไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา
เป้าหมาย
ชาวต่างชาติ ประชาชน  นักเรียน  นักศึกษา และผู้ที่สนใจการละเล่นพื้นบ้านไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ว่าที่เรือตรี ดร.อุทิศ  บำรุงชีพ ที่ปรึกษาโครงการ และนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423312 การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources Center Management)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.             เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย
2.             เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกับการละเล่นพื้นบ้านไทย
3.             เป็นการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น