QR Code
ศูนย์การเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย
การจัดตั้งศูนย์ในฝันจำลอง เพื่อฝึกประสบการณ์ในการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้
วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555
โครงการจัดตั้งศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย
หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทย
ไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็มีแต่เทคโนโลยีเข้ามาอยู่ในการดำเนินชีวิตเสมอ
ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การติดต่อสื่อสาร เครื่องใช้ในครัวเรือน
หรือแม้แต่ของเล่นของเด็กในยุคปัจจุบันก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป
จากที่เคยใช้วัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นของเล่น ก็กลายเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่คนไทยหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีมากขึ้น
และการละเล่นพื้นบ้านไทยก็ค่อยๆหายไปจากสังคมไทย
เด็กในยุคปัจจุบันก็ไม่รู้จักกับของเล่นหรือการละเล่นพื้นบ้านของไทย
การละเล่นของเด็กไทยในปัจจุบัน
เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตากระดาษชุดขายของพลาสติกเลียนแบบของจริง วิดีโอเกม
เด็กผู้ชายก็เล่นปืน จรวด เกมกด และเครื่องเล่นต่างๆ ซึ่งมีขายมากมาย
และมีการละเล่นหลาย ชนิดที่นิยมเล่นทั้งในเด็กชายและเด็กหญิง
นอกจากนั้นยังเล่นตามฐานะและเศรษฐกิจของครอบครัว
ดังนั้นการละเล่นของเด็กไทยสมัยก่อนจึงค่อยๆ เลื่อนหายไปทีละน้อยๆ จนเกือบจะสูญหายไปหมดแล้ว
เช่น กาฟักไข่ เขย่งเก็งกอย ตั้งเต ตี่ ขี่ม้าส่งเมืองขี้ตู่กลางนา เตย งูกินหาง
ช่วงชัย ชักเย่อ ซ่อนหา มอญซ่อนผ้า ไอ้โม่ง รีรีข้าวสาร ฯลฯ
ดังนั้น กลุ่มของข้าพเจ้าจึงเห็นถึงความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านไทยจึงอยากจะอนุรักษ์และรณรงค์ให้มีการละเล่นพื้นบ้านไทยเหล่านั้นเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป
เนื่องจากการละเล่นต่างๆเหล่านั้นล้วนแต่สื่อถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของไทยควรค่าแก่การอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป
และการละเล่นพื้นบ้านไทยยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาคของประเทศไทย
2.
เพื่อศึกษาวิธีการเล่นการละเล่นพื้นบ้านแต่ละชนิด
3.
เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้ศึกษาและรู้จักการละเล่นพื้นบ้านของไทย
4.
เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการละเล่นพื้นบ้านไทยไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา
เป้าหมาย
ชาวต่างชาติ ประชาชน นักเรียน
นักศึกษา และผู้ที่สนใจการละเล่นพื้นบ้านไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ว่าที่เรือตรี
ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ที่ปรึกษาโครงการ
และนิสิตสาขาเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่ม402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา
423312 การจัดการทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources
Center Management)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.
เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทย
2.
เป็นแหล่งข้อมูลที่ทำให้ชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รู้จักกับการละเล่นพื้นบ้านไทย
3.
เป็นการอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านของไทยให้คงอยู่
เกี่ยวกับศูนย์
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย
ได้จัดตั้งขึ้นภายใต้ความร่วมมือของมหาวิทยาลัยบูรพาและภาควิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมของไทยให้คงอยู่
และเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอันดีงามของคนไทยเอาไว้ เนื่องจากในปัจจุบันนี้นั้นวัฒนธรรมทางด้านการละเล่นได้แปรเปลี่ยนไป
ซึ่งทางผู้จัดตั้งจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของวัฒนธรรมที่ดีงามควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้
และสืบทอดวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของไทยต่อไป
การจัดแสดง
ห้องที่ 1 ห้องรับชมประวัติความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่ให้ผู้ที่เข้าชมภายในศูนย์นั้นรับชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน
ห้องที่ 2 ห้องประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
ห้องที่ 3 ห้องการละเล่นพื้นบ้านไทย โดยภายในจะมีการแบ่งการละเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน และภาคใต้
ห้องที่ 4 ห้องคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงให้เห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ที่ได้รับจากการละเล่นพื้นบ้าน
ห้องที่ 1 ห้องรับชมประวัติความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่ให้ผู้ที่เข้าชมภายในศูนย์นั้นรับชมวิดีทัศน์เกี่ยวกับความเป็นมาของศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้การละเล่นพื้นบ้าน
ห้องที่ 2 ห้องประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงประวัติและความเป็นมาของการละเล่นพื้นบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
ห้องที่ 3 ห้องการละเล่นพื้นบ้านไทย โดยภายในจะมีการแบ่งการละเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 ภาค ได้แก่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน และภาคใต้
ห้องที่ 4 ห้องคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย เป็นห้องที่จัดแสดงให้เห็นถึงคุณค่า และประโยชน์ที่ได้รับจากการละเล่นพื้นบ้าน
เวลาทำการ
วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 08:00-17:00 น.
วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 09:00-18:00 น.
วันหยุดนักขัตฤกษ์
เวลา 08:00-18:00 น.
ค่าบัตรเข้าชม
เด็กอายุไม่เกิน 15
ปีเข้าชมฟรี
ผู้ใหญ่ ราคา 25 บาท
การเดินทาง
1. ทางบกสามารถใช้บริการของรถประจำทางหมายเลขต่อไปนี้
รถโดยสารประจำทาง ใช้บริการรถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งหมอชิต หรือเอกมัย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
รถจะจอดบริเวณแยกบางแสน มีรถให้บริการตามเส้นทาง
ถ.ลงหาดบางแสน จะผ่านหน้ามหาวิทยาลัย
2.
รถตู้ มีให้บริการ 2 จุด คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
รถตู้จะจอดตรงหลัง Victory Point ติดกับภัตตาคารจีน ราคา 110 บาท ใช้เวลาประมาณ
1.30 ชั่วโมงรังสิต รถตู้จะจอดตรงด้านหน้าเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ราคา 130 บาท
ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
สัญลักษณ์ของศูนย์
ความหมายของสัญลักษณ์ศูนย์
สีน้ำตาล คือ ความเป็นไทย เป็นพื้นบ้าน หมายถึง การละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่ศูนย์การเรียนรู้ต้องการนำเสนอ และเผยแพร่
สีเขียว คือ ธรรมชาติ หมายถึง อุปกรณ์หรือวัสดุที่ใช้ในการละเล่นล้วนมาจากธรรมชาติ เช่น ก้านกล้วย กะลามะพร้าว ก้อนหิน เป็นต้น
รูปเด็ก คือ เป็นตัวแทนของเด็ก หมายถึง การที่เราอนุรักษ์ให้เด็กๆ หันมาเล่นการละเล่นพื้นบ้าน ซึ่งม้าก้านกล้วยเป็นการละเล่นที่นิยมมาก และเป็นที่รู้จักดี
คำขวัญ
ศูนย์การละเล่นพื้นบ้าน สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจอนุรักษ์
วิสัยทัศน์
มุ่งการพัฒนาและปลูกฝังวิถีการละเล่นพื้นบ้านไทย ให้ทุกคนรู้ถึงคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย
นโยบาย
1.การมุ่งพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก
2.การอนุรักษ์การละเล่นพื้นบ้านไทยให้คงอยู่
3.การปลูกฝังคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านไทย
แผนผังโครงสร้างหน่วยงาน
ผู้อำนวยการศูนย์
มีหน้าที่ควบคุมดูแล บริหารจัดการศูนย์ กำหนดนโยบายต่างๆ และดูแลประสานงานทั้งภายในและภายนอก
รองผู้อำนวยการ
มีหน้าที่รักษาการแทนผู้อำนวยการ และประสานงานกับฝ่ายต่างๆได้
เลขานุการ
มีหน้าที่ ประสานงานต่างๆ จดบันทึกการประชุม และรับคำสั่งจากผู้อำนวยการ เพื่อนำไปประสานงานกับฝ่ายต่างๆ
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ข่าวสารต่างๆของศูนย์การเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นทางสื่อต่างๆเช่น วิทยุ โทนทัศน์ อินเตอร์เนต เป็นต้น
ฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล
มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์สังเคราะห์ เพื่อนำไปเผยแพร่และนำไปเสนอผู้อำนวยการศูนย์
ฝ่ายบริหารการจัดการ
มีหน้าที่จัดการระบบงาน วางแผนต่างๆ เพื่อให้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
มีหน้าที่ควบคุมดูแลเทคโนโลยีต่างๆ เช่น การทำสื่อวีดีทัศน์ การผลิตสื่อเสียง เว็บไซต์ เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)